[ent]repreneurship ess[ent]ials
ความสำคัญของความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม
why social entrepreneurship matters?
23.10.2022
ผู้ประกอบการเพื่อสังคม (social entrepreneur) คือ บุคคลที่แสวงหาโอกาสทางการตลาด มองหาแนวคิดใหม่ๆ สร้างนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาของชุมชน (social problems) และลงมือก่อตั้งธุรกิจเพื่อนำผลกำไรมาต่อยอดในการสนับสนุนโครงการต่างๆ แก่สังคม
โดยภาพรวม ผู้ประกอบการเพื่อสังคมมีความสนใจที่จะเริ่มต้นธุรกิจในการสร้างประโยชน์ต่อสังคม โดยไม่ได้แสวงหาผลกำไรเพียงอย่างเดียว อีกทั้งผู้ประกอบการเพื่อสังคมยังมีความตั้งใจในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (eco-friendly products) ช่วยเหลือชุมชนที่ด้อยโอกาส หรือเน้นการจัดกิจกรรมที่สร้างผลกระทบที่ดีต่อสังคม (positive social impacts)
ประเด็นหลักๆ ที่ผู้ประกอบการเพื่อสังคมให้ความสนใจในปัจจุบัน ได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจ (economic development) การศึกษา (education) ความเท่าเทียมทางเพศ (gender equality) การดูแลสุขภาพ (health care) การเกษตรกรรม (agriculture) ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม (environmental sustainability) พลังงานหมุนเวียน (renewable energy) การพัฒนาชุมชน (community development) เป็นต้น
นักวิจัยได้ศึกษาค้นคว้าปัจจัยหลักของความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม (social entrepreneurship) ซึ่งเรียกว่า "3Ps"
ประชากร (People)
โลก (Planet)
ผลกำไร (Profit)
บทความอื่น ๆ
ประวัติของความเป็นผู้ประกอบการ
The history of entrepreneurship
Importance of entrepreneurship
Traditional management vs.
Entrepreneurial management
Overview
ความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมจะยึดมั่น 3 ปัจจัยหลักดังกล่าว ในการก่อตั้งธุรกิจที่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อประชากร (People) โดยเฉพาะการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Planet) เช่น ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สุดท้าย คือ ผลกำไร (Profit) เช่นเดียวกับธุรกิจประเภทอื่นๆ ผู้ประกอบการเพื่อสังคมจำเป็นต้องแสวงหาผลกำไรในการหล่อเลี้ยงตัวธุรกิจ จ่ายค่าจ้างแรงงาน และเติบโตในฐานะองค์กร
เรียบเรียงและแปลโดย ดร. ทิติพร ณ นคร
ข้อมูลอ้างอิง: Kuratko, D. F. (2020). Entrepreneurship, Theory, and Practice. 11th ed. Cengage.