[ent]repreneurship ess[ent]ials
บทบาทของผู้มีความเป็นผู้ประกอบการภายในองค์กร
what are the roles of intrapreneurs?
15.10.2022
ผู้มีความเป็นผู้ประกอบการภายในองค์กร (intrapreneur) คือ พนักงานที่ได้รับมอบหมายให้พัฒนาแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ หรือสร้างโครงการที่มีความเป็นนวัตกรรมใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการแข่งขันให้กับองค์กร
คำว่า Intrapreneur" เป็นคำที่ผสมผสานพ้องเสียงของคำว่า "Internal" ซึ่งแปลว่า "ภายใน" และ "Entrepreneur" คือ "ผู้ประกอบการ" เมื่อรวมทั้งสองคำเข้าด้วยกันจึงหมายถึง "ผู้ที่มีความเป็นผู้ประกอบการภายในองค์กร"
โดยทั่วไปแล้ว Intrapreneur จะได้รับอิสระการตัดสินใจในการทำงาน (autonomy) เพื่อใช้ทักษะความเป็นผู้ประกอบการในการดูแลและดำเนินการโครงการด้านนวัตกรรมต่างๆ อย่างเต็มที่ (innovative projects)
เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ประกอบการภายในองค์กรอาจกลายเป็นผู้ประกอบการและเริ่มต้นกิจการของตนเองนอกองค์กรที่จัดตั้งขึ้น แต่ยังสามารถคงความเป็นเจ้าของร่วมกับองค์กร (mutual ownership) หรืออื่นๆ แล้วแต่การตกลงและร่างสัญญา
โดยสรุป ผู้มีความเป็นผู้ประกอบการภายในองค์กรเป็นบุคคลากรที่มีแรงจูงใจสูง (passion) และมีทักษะเฉพาะด้านความเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneurship) รวมถึงมีความสามารถในการเป็นผู้นำและมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรมที่สามารถสร้างเป็นแรงบันดาลใจให้กับพนักงานคนอื่นๆ ในองค์กรได้
บทความอื่น ๆ
ประวัติของความเป็นผู้ประกอบการ
The history of entrepreneurship
Importance of entrepreneurship
Traditional management vs.
Entrepreneurial management
Good working environment
Top management support
บทบาทขององค์กรต่อความเป็นผู้ประกอบการ
สิ่งที่สำคัญสำหรับองค์กรต่อความเป็นผู้ประกอบการ คือ การสรรหาพนักงานผู้ที่มีลักษณะความเป็นผู้ประกอบการมาร่วมงานภายในองค์กร รวมทั้งจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นต่างๆ มาให้พนักงานเดิม และสร้างบรรยากาศภายในองค์กรเพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการให้เกิดขึ้นภายในองค์กร
เพราะการไม่ส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการในองค์กรหรือการยกย่องพนักงานที่แสดงจิตวิญญาณความเป็นผู้ประกอบการภายในองค์กร อาจส่งผลเสียต่อแบรนด์หรือบริษัทได้ เช่น บริษัทที่ไม่ส่งเสริมพวกเขาอาจสูญเสียบุคคลากรที่มีคุณภาพให้กับบริษัทอื่น หรือพวกเขาอาจลงเอยด้วยการทำงานเพื่อตัวเอง
กล่าวคือ นายจ้างที่สนับสนุนการทำงานเชิงความเป็นผู้ประกอบการในองค์กรจะได้รับประโยชน์มาก สามารถนำไปสู่ความสำเร็จของแผนกหรือบริษัทโดยรวม และการรักษาพนักงานเหล่านี้ไว้สามารถช่วยนำไปสู่นวัตกรรมและการเติบโตได้
เรียบเรียงและแปลโดย ดร. ทิติพร ณ นคร
ข้อมูลอ้างอิง: Kuratko, D. F. (2020). Entrepreneurship, Theory, and Practice. 11th ed. Cengage.