[ent]repreneurship ess[ent]ials
ความแตกต่างระหว่างการทำงานร่วมกับองค์กรและการเป็นผู้ประกอบการ
key differences between employment & entrepreneurship
19.02.2023
การทำงานร่วมกับองค์กร (employment) หมายถึง การดำเนินชีวิตตามเส้นทางอาชีพภายในองค์กรหรือบริษัทขนาดใหญ่ (corporate life) โดยทั่วไปแล้วจะทำงานในตำแหน่งพนักงาน (employee) ภายใต้สภาพแวดล้อม (working environment) และวัฒนธรรมขององค์กร (corporate culture) อีกทั้งพนักงานทั่วไปจะทำงานภายในโครงสร้างแบบลำดับชั้น (hierarchical structure) และได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ (roles and respoonsibilities) ค่าตอบแทน รวมถึงผลประโยชน์อื่นๆ (compensation and benefits) และเส้นทางที่ชัดเจนสำหรับความก้าวหน้าในอาชีพ (career path)
ในขณะที่การเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneurship) หมายถึง กระบวนการเริ่มต้นและดำเนินธุรกิจของตนเอง ผู้ประกอบการมักจะเป็นเจ้าของและเป็นผู้ริเริ่มดำเนินการทางธุรกิจตามแนวคิดที่ได้วางแผนเอาไว้ (operating own business) โดยสามารถควบคุมทิศทาง (direction) การเติบโต (growth) และความสำเร็จของบริษัทได้อย่างสมบูรณ์ (success) ส่วนมากผู้ประกอบการมักจะทำงานหลายชั่วโมงและรับผิดชอบหลายอย่างในการดูแลภาพรวมของธุรกิจ แต่ก็มีศักยภาพในการเติบโตและผลตอบแทนทางการเงินอย่างไร้ขีดจำกัด
บทความนี้ได้สรุป 4 ด้านหลักๆ ที่เป็นข้อแตกต่างระหว่างการทำงานร่วมกับองค์กรและการเป็นผู้ประกอบการ
โครงสร้างองค์กร (Organisational structure)
ความเสี่ยง vs. ความมั่นคง (Risk vs. Stability)
ระบบการควบคุม (Control System)
ความสมดุลระหว่างการใช้ชีวิตและการทำงาน (Work-Life Balance)
บทความอื่น ๆ
Traditional management vs.
Entrepreneurial management
organisational structure
โดยทั่วไปแล้วการร่วมงานกับองค์กรจะมีโครงสร้างพื้นฐาน มีสายการบังคับบัญชา มีความรับผิดชอบในหน้าที่การงานระบุไว้อย่างชัดเจน และตารางเวลาที่แน่นอน ส่วนการเป็นผู้ประกอบการจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น แต่ผู้ประกอบการจะต้องสวมหมวกหลายใบเพื่อรับผิดชอบหน้าที่หลากหลายในธุรกิจของตนเอง
risk vs. stability
การทำอาชีพภายในองค์กรมีแนวโน้มที่จะให้ความมั่นคงมากกว่า โดยเฉพาะการมีรายได้ ผลตอบแทน และผลประโยชน์ที่มั่นคง ในทางกลับกัน การเป็นผู้ประกอบการมักจะมีความเสี่ยงมากกว่า แต่ก็มีศักยภาพในการเติบโตอย่างไร้ขีดจำกัด อย่างไรก็ตาม ถ้าการดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างไม่ราบรื่น ผลตอบแทนอาจจะติดลบ
control system
ในสภาพแวดล้อมแบบองค์กรใหญ่ พนักงานทุกคนจะมีการวางแผนเส้นทางอาชีพ และหน้าที่ความรับผิดชอบได้อย่างจำกัด ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและระบบภายในองค์กร ในขณะที่ผู้ประกอบการสามารถควบคุมทิศทางของธุรกิจตนเองได้อย่างอิสระ ชัดเจน อีกทั้งยังสามารถตัดสินใจที่อาจส่งผลโดยตรงต่อความสำเร็จได้
work-life balance
การทำงานร่วมกับองค์กรมักจะมีตารางเวลาและภาระงาน หน้าที่ความรับผิดชอบที่ระบุไว้แน่ชัด กล่าวคือ พนักงานส่วนมากจะมีความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่ชัดเจน ส่วนการเป็นผู้ประกอบการอาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงและทุ่มเทเวลาอย่างมากในการทำงาน แต่ก็ให้ความยืดหยุ่นในการกำหนดตารางเวลาของตนเองได้
เรียบเรียงและแปลโดย ดร. ทิติพร ณ นคร
ข้อมูลอ้างอิง: Kuratko, D. F. (2020). Entrepreneurship, Theory, and Practice. 11th ed. Cengage.