[ent]repreneurship ess[ent]ials
ความแตกต่างระหว่างความเป็นผู้ประกอบการระดับบุคคลและระดับองค์กร
differences between individual & corporate entrepreneurship
29.10.2022
ความเป็นผู้ประกอบการระดับบุคคล (individual entrepreneurship) และความเป็นผู้ประกอบการระดับองค์กร (corporate entrepreneurship) เป็นสองแนวคิดที่แตกต่างกัน แต่ในบางสถานการณ์มักจะถูกนำมาใช้แทนกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วสองหลักการนี้มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก
โดยทั่วไป ความเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneurship) คือ กระบวนการสร้างและดำเนินธุรกิจหรือองค์กรตามแนวคิดของความเป็นผู้ประกอบการ ที่ถูกก่อตั้งขึ้นโดยผู้ประกอบการรายบุคคล (individual entrepreneur) ในขณะที่ความเป็นผู้ประกอบการระดับองค์กร คือ กระบวนการแนะนำผลิตภัณฑ์หรือบริการ ที่สามารถก่อตั้งขึ้นเป็นธุรกิจใหม่นอกเหนือจากสินค้าหรือบริการที่มีอยู่แล้วภายในองค์กร (existing products and services)
แม้ว่าหลักการความเป็นผู้ประกอบการทั้งสองประเภทจะเกี่ยวข้องกับความเสี่ยง (risks) ความคิดสร้างสรรค์ (creativity) และนวัตกรรม (innovation) แต่กระบวนการ (process) เป้าหมาย (goals) และผลตอบแทน (rewards) ของการเป็นผู้ประกอบการทั้งสองประเภทนั้นแตกต่างกันอย่างมาก
บทความนี้จะจำแนกความแตกต่างระหว่างความเป็นผู้ประกอบการระดับบุคคลและความเป็นผู้ประกอบการระดับองค์กรออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้
ขนาดและโครงสร้างองค์กร (Size and Structure)
การระดมเงินทุน (Funding)
การอดทนต่อความเสี่ยง (Risk Tolerance)
บทความอื่น ๆ
ประวัติของความเป็นผู้ประกอบการ
The history of entrepreneurship
Importance of entrepreneurship
Traditional management vs.
Entrepreneurial management
Size & structure
โดยทั่วไปแล้วสตาร์ทอัพจะเป็นองค์กรขนาดเล็กและมีโครงสร้างแบบเรียบง่าย ในขณะที่องค์กรจะมีขนาดใหญ่และมีโครงสร้างที่ซับซ้อนกว่า โดยส่วนมากจะมีโครงสร้างหลายชั้น และมีผู้จัดการหลายแผนก
Funding
สตาร์ทอัพมักจะพึ่งพาเงินทุนจากภายนอก เช่น เงินร่วมลงทุน เงินจากนักลงทุนอื่นๆ หรือ เงินเก็บส่วนตัวเพื่อเป็นเงินทุนในการดำเนินธุรกิจ ในขณะที่องค์กรต่างๆ สามารถเข้าถึงเงินทุนและทรัพยากรของตนเองได้
Risk tolerance
สตาร์ทอัพมักเต็มใจที่จะรับความเสี่ยงที่สูง เนื่องจากพวกเขาพยายามที่สร้างตลาดใหม่ ในขณะที่องค์กรมีวัฒนธรรมที่ไม่ชอบความเสี่ยงมากนัก เนื่องจากจะต้องคำนึงถึงชื่อเสียงและฐานลูกค้าเดิม
เรียบเรียงและแปลโดย ดร. ทิติพร ณ นคร
ข้อมูลอ้างอิง: Kuratko, D. F. (2020). Entrepreneurship, Theory, and Practice. 11th ed. Cengage.